แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน Flipped Classroom เป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เปลี่ยนแปลงกระบวนการเรียนรู้จากแบบดั้งเดิม โดยมีแนวคิดหลักคือให้นักเรียนได้เรียนรู้เนื้อหาด้วยตนเองก่อนการเข้าชั้นเรียน ผ่านการดูวิดีโอ อ่านเอกสาร หรือทำกิจกรรมการเรียนรู้อื่น ๆ ที่อาจารย์จัดเตรียมไว้ จากนั้นในชั้นเรียนจะใช้เวลาในการทำกิจกรรมเชิงปฏิบัติ การอภิปราย การทำแบบฝึกหัด หรือการแก้ปัญหา เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและทักษะเพิ่มเติม
ประโยชน์ของห้องเรียนกลับด้าน
- ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง: นักศึกษามีโอกาสในการเรียนรู้ตามความเร็วของตนเอง ทำให้สามารถทบทวนและศึกษาซ้ำได้ตามต้องการ
- เพิ่มเวลาในการเรียนรู้เชิงปฏิบัติ: เวลาที่เคยใช้ในการบรรยายในชั้นเรียนสามารถใช้ในการทำกิจกรรม การอภิปราย และการปฏิบัติจริงได้มากขึ้น
- ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการทำงานร่วมกัน: นักศึกษาสามารถร่วมมือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนร่วมชั้นได้มากขึ้น
- เสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์: การทำกิจกรรมเชิงปฏิบัติในชั้นเรียนช่วยเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา
การจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน
- เตรียมสื่อการเรียนรู้ล่วงหน้า: อาจารย์จัดเตรียมวิดีโอสื่อการสอน เอกสาร หรือสื่อการเรียนรู้อื่น ๆ ที่จะให้นักศึกษาศึกษาก่อนเข้าชั้นเรียน
- การเรียนรู้ก่อนเข้าชั้นเรียน: นักเรียนศึกษาเนื้อหาตามที่ครูจัดเตรียมไว้ที่บ้านหรือในเวลาว่างของตนเอง
- การทำกิจกรรมในชั้นเรียน: ในชั้นเรียน อาจารย์และนักศึกษาทำกิจกรรมเชิงปฏิบัติ อภิปราย และแก้ปัญหาร่วมกัน เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและทักษะ
- การประเมินผลและการทบทวน: อาจารย์ประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาและนักศึกษามีโอกาสทบทวนและปรับปรุงการเรียนรู้ของตนเอง ก่อนที่จะสอบ Final
ทั้งนี้ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้นำแนวคิดการเรียนในรูปแบบ ห้องเรียนกลับด้าน Flipped Classroom มานำร่องใน 2 รายวิชา ได้แก่
- BS942054 – English for Tourist Guide พากย์ ภาษาไทย / ภาษาอังกฤษ
- BS943026 – Tourist Behaviour and Cross Cultural Communication พากย์ ภาษาไทย / ภาษาอังกฤษ
การดำเนินการจัดการเรียนการสอน
โดยมีนักศึกษาจำนวน 300 คนใน 2 รายวิชาในภาคต้น การจัดรูปแบบการเรียนการสอน จะดำเนินการเป็นบทเรียนในแต่ล่ะสัปดาห์ 1 – 2 บท เพื่อที่สอดคล้องกับบทเรียนในคลาสเรียนเรื่อยๆ เมื่อครบจำนวนบทเรียนทั้งหมด ก่อนสอบกลางภาค ระบบจะดำเนินการเปิดบทเรียนทั้งหมดเพื่อให้นักศึกษาได้ ทบทวนบทเรียนทั้งหมดอีกครั้ง ก่อนสอบกลางภาค
ปัญหาที่พบ
ปัญหาที่พบในระหว่างการจัดการเรียนการสอนรูปแบบ Flipped Classroom
- ปัญหาเรื่องบัคของโปรแกรม ที่ใช้จัดการเรียนการสอน
- ปัญาหาเรื่องข้อจำกัดของอุปกรณ์ของนักศึกษา เช่น นักศึกษาใช้ 1 อุปกรณ์ในการเรียน และอยากเป็นสไลด์ ประกอบการเรียนพร้อมกัน ทำให้ไม่สะดวกในการเรียน
แนวทางแก้ไขปัญหา
แนวทางการแก้ไขปัญหาข้างต้น
- การแก้ไขปัญหาบัคของระบบที่ปลายทาง เพิ่มช่องทางรับแจ้งปัญหาของนักศึกษา และรวบรวมปัญหา แก้ไขเป็น Case by Case
- การแก้ไขปัญหาบัคของระบบที่ต้นทาง วิเคาะห์สาเหตุที่เกิดปัญหานั้น และแก้ไขโค๊ต หาวิธีที่ทำให้ไม่เกิดปัญหานั้นที่ต้นทาง
- แก้ไขให้ Video Player สามารถเปิดโหมด PIP ได้ทำให้นักศึกษาสามารถนำวีดีโอแสดงบนสไลด์ได้อย่างอิสระ